วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การใช้งานโปรแกรม IDM

ต่อจากภาคแรกครับหากคุณไม่ต้องการดาวน์โหลด ณ ขณะนั้น คุณสามารถคลิกที่ปุ่ม Download Later เพื่อเก็บไฟล์ดังกล่าวเข้าคิว (Queue) ไปทำการดาวน์โหลดเมื่อคุณมีเวลาสะดวก (คุณสามารถตั้งเวลาดาวน์โหลด ในช่วงเวลาที่คุณต้องการได้จากปุ่ม Scheduler ในหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในตอนต้น)แต่หากคุณต้องการเริ่มการดาวน์ โหลดทันที ให้คุณคลิกที่ปุ่ม Start Download เพื่อเริ่มการดาวน์โหลดไฟล์ในทันที ซึ่งจะปรากฏหน้าจอแสดงการดาวน์โหลดขึ้นมาดังรูป




ใน หน้าจอที่แสดงการดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM นี้ จะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการดาวน์โหลดไฟล์ๆ นั้น เช่น ขนาดของไฟล์ จำนวนข้อมูลที่ดาวน์โหลดได้แล้ว ความเร็วในการดาวน์โหลด เวลาที่คาดว่าจะเสร็จ ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว ในข้อ 13. ที่อธิบายความหมายของแต่ละส่วนในหน้าจอหลักของโปรแกร ม IDM

มีจุด สังเกตที่ควรจะกล่าวถึงเพิ่มเติมเพียงจุดเดียว คือ ในบรรทัด Resume Capability ซึ่งจะบอกข้อมูลให้คุณทราบว่า คุณสามารถดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวนี้ต่อเนื่องในภายหลั งได้หรือไม่ (Yes/No) หากการดาวน์โหลดเกิดหยุดชะงักด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม

ซึ่งหากลิ้งค์ โปรแกรมที่คุณต้องการจะดาวน์โหลดไฟล์นี้ มีมากกว่า 1 ลิ้งค์ และไฟล์ที่จะดาวน์โหลดมีขนาดใหญ่ คุณอาจจะเลือกลิ้งค์ที่มีความสามารถในการดาวน์โหลดต่ อเนื่องในภายหลังได้ เพื่อหากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้การดาวน์โหลดต้องหยุด ชะงักลง คุณจะได้สามารถกลับมาดาวน์โหลดต่อได้ในภายหลัง


ปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม IDM ให้ตรงกับความต้องการ

โดยให้คุณเปิดหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM ขึ้นมา จากนั้นคลิกไปที่เมนู Downloads >> Options ดังรูป



1. การกำหนดค่าในแท็บ General



ในส่วนที่ 1

- Launch Internet Download Manager on startup -- กำหนดให้เปิดใช้งานโปรแกรม IDM ทุกครั้งที่เริ่มใช้ Windows หรือไม่
- Automatically start downloading of URLs placed to clipboard -- กำหนดให้เมื่อมีการก๊อปปี้ข้อความใดๆ ที่ตรงกับชนิดของไฟล์ที่จะดาวน์โหลดด้วยโปรแกรม IDM ให้มีหน้าจอขึ้นมาให้ยืนยันการดาวน์โหลด (ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ในหัวข้อวิธีการดาวน์โหลดไฟล์โดยโปรแกรม IDM
- Use advanced browser integration -- ให้โปรแกรม IDM ทำงานร่วมกับเว็บบราวเซอร์ตามที่ระบุไว้ในกรอบด้านล่ างของบรรทัดนี้ (จะได้กล่าวถึงในส่วนที่ 2) ซึ่งจะอำนวยความสะดวก เมื่อคุณมีการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บบราวเซอร์ที่ถูกระ บุไว้นี้ โปรแกรม IDM จะทำงานแทนระบบดาวน์โหลดของตัวเว็บบราวเซอร์ในทันทีท ี่มีการดาวน์โหลดเกิด ขึ้น

ในส่วนที่ 2

ชื่อโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่จะกำหนดให้ โปรแกรม IDM ทำงานร่วมด้วย ในเบื้องต้นที่กำหนดไว้ คือ IE , Mozilla, Netscape, Opera แต่หากคุณต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ (ที่ไม่ใช่แค่เฉพาะโปรแกรมประเภทบราวเซอร์เท่านั้น) เช่น เมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์ด้วยโปรแกรม WS_FTP คุณอาจจะต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงานในส่วนนี้แทน ก็ให้คุณทำเครื่องหมายหน้าบรรทัด Detect new applications that try to download files from the internet

ในส่วนที่ 3

กำหนด ชนิดของไฟล์ที่จะให้โปรแกรม IDM ดาวน์โหลด ซึ่งค่าปกติที่โปรแกรม IDM เตรียมมาให้ก็มีอยู่พอสมควรแล้ว เช่น หากคุณต้องการให้โปรแกรม IDM ทำงาน เมื่อมีดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร (ที่มีนามสกุลเป็น .doc) คุณก็เพียงแค่เพิ่มคำว่า DOC ให้ต่อท้ายจากชนิดของไฟล์ตัวสุดท้ายโดยวรรคจากตัวก่อ นหน้านั้น 1 วรรค (จากรูปชนิดของไฟล์ตัวสุดท้ายคือ PDF)

ในส่วนที่ 4

กำหนดราย ชื่อเว็บที่คุณไม่ต้องการให้โปรแกรม IDM เป็นตัวดาวน์โหลด จากตัวอย่างในรูป เป็นเว็บอัพเดทระบบปฏิบัติการวินโดว์ (คุณสามารถใช้เครื่องหมาย * เพื่อกำหนดค่า URL เป็นช่วงกว้างๆ ได้)


2. การกำหนดค่าในแท็บ Connection


ใน แท็บ Connection นี้ จะให้คุณกำหนดชนิดของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทที่คุณ ใช้งานอยู่ (Connection Type/Speed) เช่น Dial-up , ADSL ในแต่ละความเร็ว ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้โปรแกรม IDM สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

มี จุดกำหนดค่าที่สำคัญอยู่ 2 จุดที่ควรจะกล่าวถึง คือ Max. connections number ซึ่งเป็นการกำหนดคอนเน็คชั่นในการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟ เวอร์ที่เรากำหนดจะ ดาวน์โหลดไฟล์ (เหมือนกับการช่วยกันดาวน์โหลดไฟล์ๆ เดียวจากหลายๆ เครื่อง) โดยยิ่งเรากำหนดจำนวนคอนเน็คชั่นมาก ก็จะทำให้เราดาวน์โหลดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเพิ่มจำนวนคอนเน็คชั่นในการดาวน์โหลดมากเกินไป ก็จะสร้างภาระให้กับเซิร์ฟเวอร์ที่เราทำการดาวน์โหลด ไฟล์ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ดูแลระบบหาทางป้องกันหรือจำกัดการด าวน์โหลดในครั้งต่อๆ ไป ดังนั้นค่าปกติที่ควรจะกำหนดไว้สำหรับ Max. connections number นั้น ไม่ควรจะเกิน 4

แต่หากคุณต้องการเพิ่มหรือลดจำนวนคอนเน็คชั่น โดยขึ้นอยู่กับเซิรฟ์เวอร์หรือเว็บไซท์ว่ามีความสามา รถในการรองรับการแชร์ ไฟล์หรือโปรแกรมได้มากน้อยเพียงใด คุณสามารถคลิกที่ปุ่ม New ภายใต้ส่วน Exceptions: ซึ่งจะทำให้คุณสามารถกำหนดค่า Max connections สำหรับแต่ละเว็บไซท์ที่คุณต้องการจะดาวน์โหลดไฟล์ได้


3. การกำหนดค่าในแท็บ Downloads

- ส่วนที่ 1

กำหนดโฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์แต่ละประเภท โปรแกรม IDM จะแบ่งประเภทไฟล์ออกเป็น 6 หมวดหลักๆ คือ
ไฟล์ ทั่วไป (General) , ไฟล์ที่ถูกบีบอัด (Compressed) ไฟล์เอกสาร (Documents) ไฟล์เสียง (Music) ไฟล์โปรแกรม (Programs) ไฟล์วีดีโอ (Video) ซึ่งวิธีการกำหนดโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บสำหรับไฟล์แต่ล ะประเภท ให้คุณคลิกเลือกหมวดในบรรทัด Category ก่อน จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือกโฟลเดอร์ และปฏิบัติด้วยขั้นตอนเช่นนี้ซ้ำๆ กัน จนครบทุกประเภทของไฟล์

สำหรับในบรรทัด Remember last save path for “General” category จะเป็นการกำหนดให้โปรแกรม IDM จำค่าโฟลเดอร์ที่บันทึกไฟล์ที่ดาวน์โหลดสำหรับไฟล์ประเภททั่วไปครั้งสุดท้าย เอาไว้ เช่น หากคุณกำหนดโฟลเดอร์ที่จะเก็บไฟล์ทั่วไปไว้ในโฟลเดอร ์ C:\GENERAL แต่ตอนที่คุณทำการดาวน์โหลดด้วยโปแกรม IDM คุณทำการเปลี่ยนโฟลเดอร์ที่จะจัดเก็บไฟล์ที่อยู่ในประเภททั่วไปนี้ไปไว้ที่โฟลเดอร์อื่น เช่น C:\TEMP โปรแกรม IDM จะจำค่าโฟลเดอร์ที่เปลี่ยนไปนั้นไว้ด้วย ซึ่งเมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์ที่อยู่กลุ่มประเภททั่วไปน ี้อีก โปรแกรม IDM ก็จะแสดงโฟลเดอร์ที่จะใช้จัดเก็บขึ้นมาให้เป็น C:\TEMP แทน C:\GENERAL ที่เคยกำหนดไว้

- ส่วนที่ 2

จะเป็นการกำหนดการแสดงผลหน้าจอ การดาวน์โหลดของโปรแกรม IDM เช่น ให้แสดงเป็นแบบ Normal หรือ Minimize นอกจากนั้นคุณยังสามารถกำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงหน้าจอเริ่มต้นการดาวน์โหลด (Show start download dialog) และหน้าจอหลังการดาวน์โหลดเสร็จ (Show download complete dialog)

หน้าจอเริ่มต้นการดาวน์โหลด



หน้าจอหลังการดาวน์โหลดเสร็จ


ซึ่ง หากคุณมักจะดาวน์โหลดไฟล์เป็นจำนวนมากพร้อมๆ กันหลายๆ ไฟล์ คุณอาจจะกำหนดไม่ให้แสดงหน้าจอหลังการดาวน์โหลดเสร็จ ขึ้นมา เพื่อไม่ให้เกะกะที่หน้าจอ หรือต้องคอยปิดหน้าจอเหล่านั้นทิ้งไป

- ส่วนที่ 3

คุณ สามารถเลือกโปรแกรมสแกนไวรัสที่จะใช้ตรวจสอบไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม IDM ได้จากการคลิกเลือกโปรแกรมในบรรทัด Virus scanner program จากนั้นใส่พารามิเตอร์ที่จะใช้ในการสแกนไฟล์ไว้ในบรร ทัด Command line parameters


กำหนดรูปแบบการแสดงผลทั่วไปของโปรแกรม IDM

ให้คุณคลิกที่เมนู View คุณจะพบกับเมนูต่างๆ ที่ใช้ปรับรูปแบบการแสดงผลของโปรแกรม IDM ดังรูป


1. Hide categories -- ให้ซ่อนหรือแสดงหน้าต่างแยกประเภทไฟล์ที่ดาวน์โหลด ที่อยู่ทางด้านซ้ายมือของหน้าจอหลักของโปรแกรม IDM นี้
2. Arrange files -- เลือกรูปแบบการจัดเรียงไฟล์ในลิสต์รายการดาวน์โหลดโปรแกรม เช่น เรียงตามชื่อ , เรียงตามลำดับการดาวน์โหลด ฯลฯ
3. Toolbar -- เลือกรูปแบบการแสดงทูลบาร์ (Toolbar) ที่เป็นปุ่ม Add URL, Resume, Stop, Stop All ว่าจะแสดงเป็นไอคอนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ รวมทั้งให้แสดงผลแบบธรรมดาหรือสามมิติ (3D)
4. Customize URL List -- ปรับแต่งการแสดงผลในหน้าต่างลิสต์รายการดาวน์โหลด เช่น จะให้ซ่อนหรือแสดง คอลัมน์ใด (File Name, Q, Size, Status) หรือจะจัดให้คอลัมน์ใดอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง
5. Language -- เลือกภาษาที่จะใช้แสดงผลในโปรแกรม IDM (โปรแกรม IDM รองรับการแสดงผลภาษาไทย)


การอัพเดทโปรแกรม IDM แบบออนไลน์

คุณ สามารถตรวจสอบและสั่งให้โปรแกรม IDM ทำการอัพเดทโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด ได้จากเมนู Help >> Quick Update จากหน้าจอหลักของโปรแกรม


ซึ่ง เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว คุณจะพบกับหน้าต่างที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรม IDM เวอร์ชั่นล่าสุดที่ทางเว็บผู้พัฒนาโปรแกรม IDM เปิดให้อัพเดท หากคุณต้องการอัพเดท ก็เพียงแค่คลิกที่ปุ่ม Update now


* ถ้าคุณไม่ได้ใช้โปรแกรมลิขสิทธิ์ อาจจะหลีกเลี่ยงการอัพเดทโปรแกรมโดยวิธีนี้ เพราะทางผู้พัฒนาโปรแกรมอาจจะมีการตรวจสอบลิขสิทธ์ของโปรแกรมที่คุณใช้ งานอยู่ ผ่านช่องทางการอัพเดทโปรแกรมนี้
จบภาค 2 มีต่อภาคสามคับ เป็นเทคนิคอื่นๆ
Credit: http://www.zoi7.com/
ปล. ถ้าซ้ำต้องขออภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น